หม้อไอน้ำ (STEAM BOILER)

หม้อไอน้ำ

STEAM BOILER

 

 



           หม้อไอน้ำ (Steam Boiler) เป็นเครื่องจักรที่ได้รับความร้อนแล้วส่งผ่านไปยังน้ำที่อยู่ภายในหม้อไอน้ำ เปลี่ยนน้ำให้กลายเป็นไอ อุตสาหกรรมส่วนใหญ่จะผลิตแค่ไอน้ำอิ่มตัว โดยส่งความร้อนตามท่อไปยังเครื่องจักรเพื่อให้ความร้อนของไอน้ำทำความร้อนหรือใช้ผลิตสินค้าต่างๆ การใช้ไอน้ำอิ่มตัวในขบวนการถ่ายเทความร้อนจะมีอุณหภูมิของเครื่องจักรคงที่ตลอดความยาวของเครื่องจักร ทำให้สินค้ามีคุณภาพที่คงที่หรือสินค้ามีการเสียหายน้อยกว่าการใช้ฮีตเตอร์ไฟฟ้าให้ความร้อนกับเครื่องจักรเนื่องจากมีการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิของฮีตเตอร์ นอกจากนั้นการซื้อไฟฟ้าในปริมาณมากจะมีค่าใช้จ่ายสูงกว่ามากเมื่อเทียบกับการใช้เชื้อเพลิงผลิตไอน้ำ

 

 

           ดังนั้นจึงมีใช้หม้อไอน้ำกันทั่วไปใน โรงพยาบาล โรงแรม โรงงานอุตสาหกรรมต่างๆ เป็นต้น โดยหม้อไอน้ำจะมีการออกแบบหลายแบบ หลายชนิด ตามความเหมาะสมกับการใช้งานในแต่ลักษณะหรือตามสภาวะของการผลิตไอน้ำหรือตามเชื้อเพลิงที่ใช้ผลิตไอน้ำ

ชนิดและหลักการทำงานของหม้อไอน้ำ

 

 

1. หม้อไอน้ำชนิดท่อไฟ (Fire Tube Boiler)

 

 

หม้อไอน้ำ

 

 

         หม้อไอน้ำชนิดท่อไฟ (Fire Tube Boiler) เป็นหม้อไอน้ำที่มีโครงสร้างง่ายๆ ซึ่งใช้กันมากทั่วโลก โดยความร้อนจากการเผาไหม้ของเชื้อเพลิงในห้องเผาไหม้ จะถูกส่งไปในท่อเหล็กจำนวนมากที่เรียกว่าท่อไฟซึ่งประกอบตามความยาวของหม้อน้ำ ทำให้น้ำโดยรอบท่อนั้นเดือดและเปลี่ยนสภาพน้ำกลายเป็นไอน้ำ  หม้อไอน้ำชนิดนี้มีการใช้งานใน โรงพยาบาล โรงแรม โรงงานกระดาษ โรงงานอาหาร โรงงานผลไม้กระป๋อง โรงงานเครื่องดื่ม โรงงานพลาสติก โรงงานเครื่องสำอาง โรงงานอิเล็กโทรนิค โรงงานทอผ้าฟ้อกย้อม เป็นต้น

 

 

ข้อดีของหม้อไอน้ำแบบท่อไฟ

         • การออกแบบเรียบง่าย

         • มีปริมาณของน้ำมาก ทำให้ความดันไอน้ำค่อนข้างนิ่ง อุณหภูมิจึงนิ่งคงที่ตามความดันไอน้ำ

         • ไม่ต้องการน้ำที่มีคุณภาพที่ดีมากนัก หม้อน้ำจึงยังไม่เสียหายเมื่อการควบคุมคุณภาพน้ำมีความผิดพลาด

         • มีขนาด 0.1 -  30 ตันไอน้ำ/ชั่วโมง ความดัน 10 – 20 บาร์


ข้อเสียหม้อไอน้ำแบบท่อไฟ

         • เกิดไอน้ำช้า ใช้เวลาประมาณ 20-30 นาที

         • น้ำหนักมาก เมื่อเทียบกับหม้อไอน้ำแบบอื่นๆในขนาดเดียวกัน

         • กรณีระเบิด อันตรายมากกว่า เนื่องจากมีน้ำสะสมมากกว่า

         • ไม่สามารถผลิตไอน้ำยิ่งยวดได้

 

 

2. หม้อไอน้ำชนิดท่อน้ำ (Water Tube Boiler)

 

 

หม้อไอน้ำชนิดท่อน้ำ (Water Tube Boiler)

 

 

         หม้อไอน้ำชนิดท่อน้ำ (Water Tube Boiler) ประกอบด้วยท่อน้ำจำนวนมาก ซึ่งมีน้ำไหลอยู่ภายในท่อน้ำกับ Drum  ก๊าซเผาไหม้จะให้ความร้อนแก่น้ำในท่อจากภายนอกท่อทำให้เกิดไอน้ำ หม้อไอน้ำแบบนี้สามารถจัดเรียงท่อน้ำเพิ่มมากขึ้นจำนวนหลายๆ แถว เพื่อเพิ่มพื้นที่การถ่ายเทความร้อนให้มากขึ้น จึงสามารถเพิ่มขนาดหม้อไอน้ำได้ใหญ่พอที่จะผลิตไอน้ำปริมาณมากๆ

 

 

ข้อดีหม้อไอน้ำแบบท่อน้ำ

         • สามารถออกแบบให้ผลิตไอน้ำความดันสูงมาก เพราะโครงสร้างรับความดันของท่อน้ำและ Drum มีเส้นผ่านศูนย์กลางเล็กกว่าหม้อไอน้ำแบบท่อไฟ จึงเหมาะกับขบวนการผลิตที่ต้องการใช้ความดันหรืออุณหภูมิสูงมากๆ

         • สามารถผลิตไอน้ำยิ่งยวดได้

         • มีขนาดใหญ่กว่าหม้อน้ำแบบอื่นๆ

         • มีขนาด 5 - 200 ตันไอน้ำ/ชั่วโมง ความดัน 18 – 250 บาร์

ข้อเสีย-หม้อไอน้ำแบบท่อน้ำ

         • ต้องใช้น้ำที่มีคุณภาพสูงมาก จึงต้องมีระบบบำบัดน้ำที่ซับซ้อนและดีมาก

         • หม้อน้ำอาจจะเสียหายเมื่อการควบคุมคุณภาพน้ำผิดพลาด

         • เมื่อภาระไอน้ำเปลี่ยนแปลงไป ความดันและอุณหภูมิของไอน้ำจะเปลี่ยนแปลงค่อนข้างมาก

         • เนื่องจากมีห้องเก็บไอน้ำเล็ก จึงเกิดน้ำปนไปกับไอน้ำได้ ถ้ามีการเปลี่ยนแปลงปริมาณการใช้ไอน้ำอย่างรวดเร็ว

         • มีโครงสร้างซับซ้อน ซ่อมแซมยากและใช้เวลานาน

 

 

นอกเหนือจากนี้ ยังมีหม้อไอน้ำในรูปแบบอื่นๆอีกด้วย ขึ้นอยู่กับขนาดและการใช้งาน อาทิเช่น

 

 

3. หม้อน้ำแบบไหลผ่านทางเดียว (Once Through Boiler)

 

 

หม้อน้ำแบบไหลผ่านทางเดียว (Once Through Boiler)

 

 

         หม้อน้ำแบบไหลผ่านทางเดียว (Once Through Boiler) เป็นหม้อไอน้ำแบบท่อน้ำทรงตั้ง ที่มีท่อน้ำหลายท่อเรียงเป็นวงกลมคล้ายกรงนก แต่ระดับน้ำจะมีเพียงบางส่วนของท่อน้ำไม่สูงจนเต็มท่วมท่อน้ำทั้งท่อ ทำให้ไอน้ำที่อยู่ส่วนบนของท่อได้รับความร้อนเพิ่มขึ้นด้วยจนเป็นไอน้ำยิ่งยวด ไอน้ำจึงมีความแห้งมากขึ้น น้ำเลี้ยงจากปั๊มน้ำไหลขึ้นผ่านท่อน้ำยาวต่อเนื่องในท่อเพียงครั้งเดียว จึงไม่มีการหมุนเวียนของน้ำในท่อ 

ข้อดี-หม้อน้ำแบบไหลผ่านทางเดียว

         • มีขนาดเล็ก น้ำหนักน้อยกว่า ใช้พื้นที่ในการติดตั้งน้อยกว่า

         • มีประสิทธิภาพสูงมาก เพราะให้อุปกรณ์อุ่นน้ำ( Economizer)ขนาดใหญ่มาให้ด้วย

         • มีขนาด 0.5 -  6 ตันไอน้ำ/ชั่วโมง ความดัน 9.8 – 32 บาร์

ข้อเสีย-หม้อน้ำแบบไหลผ่านทางเดียว

         • หม้อน้ำมีตะกรันไม่ได้เลยแม้บางๆ ต้องใช้น้ำที่มีคุณภาพสูงมาก จึงต้องมีระบบบำบัดน้ำที่ดีมาก หม้อน้ำอาจจะเสียหายทันทีเมื่อการควบคุมคุณภาพน้ำผิดพลาด

         • ต้องใช้น้ำยาเคมีมาก ต้องมีการระบายน้ำต่อเนื่องตลอดเวลา

         • ความดันและอุณหภูมิของไอน้ำจะเปลี่ยนแปลงรวดเร็วมาก

         • อายุหม้อน้ำสั้น บอยเลอร์ เพราะเกิดความเครียดในเหล็กจากความดันที่เปลี่ยนแปลงรวดเร็วตลอดเวลา

         • ไม่ควรใช้เชื้อเพลิงน้ำมันเตา เพราะจะจุดไม่ค่อยติด

 

 

4. หม้อน้ำไฟฟ้า

 

 

Electric Heater boiler

 

 

Electric Heater boiler

 

 

Electrode Hi Volt boiler

Electrode Hi Volt boiler

 

 

หม้อน้ำไฟฟ้าใช้กระแสไฟฟ้าเป็นพลังงานผลิดไอน้ำ มี 2 ประเภทคือ 

         • หม้อน้ำแบบใช้ไส้ฮีตเตอร์โวลต์ต่ำให้ความร้อน( 220 - 600 V) 

         • หม้อน้ำแบบใช้แท่งอิเล็กโทรดโวลต์สูง ให้น้ำเป็นความต้านทานไฟฟ้าเกิดความร้อนผลิตไอน้ำ( 4 – 25 kV)

 

 

ข้อดี-หม้อน้ำไฟฟ้า

         • สะอาด เพราะไม่มีการเผาไหม้เชื้อเพลิง

         • ไม่มีปล่องไฟ

         • แบบใช้ฮีตเตอร์ มีขนาด 0.02 - 3 ตันไอน้ำ/ชั่วโมง ความดัน 10 – 17 บาร์

         • แบบใช้แท่งอิเล็กโทรด มีขนาด 1.5 - 150 ตันไอน้ำ/ชั่วโมง ความดัน 10 – 31 บาร์

ข้อเสีย-หม้อน้ำไฟฟ้า

         • ค่าไฟฟ้าสูงกว่าเชื้อเพลิงแบบเผาไหม้

         • ไส้ฮีตเตอร์บวมแตกได้ ถ้ามีตะกรันหรือมีการกัดกร่อนจาก Oxygen Pitting เพราะผิวเหล็กไส้ฮีตเตอร์บาง

         • ไส้ฮีตเตอร์มีราคาแพง

 

 

            บริษัท บุญเยี่ยมและสหาย จำกัด ผู้นำด้านบอยเลอร์และเบิร์นเนอร์อุตสาหกรรม ผู้จัดจำหน่ายเครื่องกำเนิดไอน้ำ ยี่ห้อ Cleaver brooks, เครื่องกำเนิดไอน้ำ ยี่ห้อ Fulton, เครื่องกำเนิดไอน้ำ ยี่ห้อ Kawasaki, เครื่องทำน้ำร้อน ยี่ห้อ A.O.Smith, หัวพ่นไฟอุตสาหกรรม ยี่ห้อ Maxon, หัวพ่นไฟอุตสาหกรรม ยี่ห้อ Oilon,, เคมีเพื่อการดูแลรักษาและปรับสภาพน้ำในระบบหม้อไอน้ำ ยี่ห้อ Tandex

 

 

“ดูแลดี มีบริการทั้งก่อนและหลังการขาย ด้วยประสบการณ์มากกว่า 50 ปี”

 

 

สนใจติดต่อ บริษัท บุญเยี่ยมและสหาย จำกัด

1314-1322 ถนนศรีนครินทร์ แขวงอ่อนนุช เขตสวนหลวง กรุงเทพมหานคร 10250

Tel : 02-322-1678-87(Auto Line) และ 02-322-4330-3

Fax : 02-322-4329

Line Official : @boonyium

E-mail : [email protected]

Facebook : บริษัท บุญเยี่ยมและสหาย จำกัด

Website : www.boonyium.co.th

boonyium.brandexdirectory.com

www.boonyium.com

บอยเลอร์.net

มาทำความรู้จักกับเหล็กเส้นไฟเบอร์กลาส (GFRP) กันเถอะ

เหล็กเส้นไฟเบอร์กลาส (GFRP) คืออะไร


      เหล็กเส้นไฟเบอร์กลาส หรือ วัสดุเสริมแรงไฟเบอร์กลาส (Glass Fiber Reinforced Polymer) เป็นวัสดุที่ผู้รับเหมาก่อสร้างเริ่มนิยมเอามาใช้ทดแทนเหล็กเส้น เพราะว่า เหล็กเส้นไฟเบอร์กลาส (GFRP เส้นตรง) สามารถแก้ปัญหาในเรื่องของเหล็กเส้นขึ้นสนิมได้เป็นอย่างดี ซึ่งผลิตขึ้นจากเส้นใยไฟเบอร์กลาสที่มีกระบวนการดึงขึ้นรูปคล้ายกับการทำเชือกผสมเรซิน ทำให้สามารถรับแรงได้ดีและมีน้ำหนักที่เบา

 

GFRP เส้นตรง

 

 

ข้อดีของเหล็กเส้นไฟเบอร์กลาส (GFRP) ได้แก่


      • เหล็กเส้นไฟเบอร์กลาสไม่เป็นสนิม
      • ลดต้นทุนได้ กำไรเพิ่มขึ้น
      • GFRP สามารถรับแรงดึงและแรงยึดเกราะสูง
      • ไม่เป็นตัวนำไฟฟ้า ไม่ถ่ายเทความร้อน
      • GFRP สามารถตัดความยาวได้ตามความต้องการ
      • เหล็กเส้นไฟเบอร์กลาสมีน้ำหนักเบาและสามารถขนส่งได้สะดวก
      • สามารถใช้งานร่วมกับเหล็กเส้นได้
      • มีความเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมเมื่อเทียบการการผลิตเหล็ก

 

ข้อควรระวังของเหล็กเส้นไฟเบอร์กลาส (GFRP) ได้แก่


      • เหล็กเส้นไฟเบอร์กลาส เป็นวัสดุที่เหนียวแต่เปราะ งอได้ไม่เท่าเหล็ก
      • หากต้องการปรับเปลี่ยนที่หน้างาน การงอหรือดัดจะต้องทำมาจากโรงงาน เนื่องจากไม่สามารถทำเองได้ ระยะต่างๆ จึงต้องแม่นยำ
      • การซ่อมเหล็กเส้นไฟเบอร์กลาสที่หน้างานทำได้ยากกว่าเหล็ก
      • แม้การทำงานจะคล้ายเหล็ก แต่ช่างจำเป็นต้องเรียนรู้เทคนิคการใช้งานที่ถูกต้อง
      • เหล็กเส้นไฟเบอร์กลาส จำเป็นต้องใช้งานร่วมกับเหล็กเส้นในส่วนที่ต้องงอ
      • GFRP มีความสามารถในการทนความร้อนต่ำ
      • ปัจจุบันยังแนะนำให้ใช้เฉพาะโครงสร้างที่อยู่ระดับดินและใต้ดินเท่านั้น ไม่แนะนำให้ใช้กับโครงสร้างที่สูงขึ้นไป 

 

นิยมใช้เหล็กเส้นไฟเบอร์กลาส (GFRP) 


      • งานเสริมแรงคอนกรีต
      • งานเทพื้น
      • งานเทคาน
      • งานรั้วกำแพง 
      • งานเทเสา (Span) ใช้งานได้เทียบเท่าเหล็กข้ออ้อย ตามมาตรฐาน มอก.

 

 เหล็กเส้นไฟเบอร์กลาส


       บริษัท ช. มั่นคง บางบอน จำกัด ผู้เชี่ยวชาญด้านการผลิตโครงสร้างสำเร็จรูป และติดตั้งโครงสร้างคอนกรีตสำเร็จรูป โครงสร้างสําเร็จรูป precast ข้อได้เปรียบของการติดตั้งโครงสร้างสำเร็จรูป งบประมาณถูกกว่า สามารถติดตั้งเสร็จอย่างรวดเร็ว มีความมั่นคง แข็งแรง พรีคาสท์คอนกรีต และปลอดภัย ที่ผลิตและควบคุมคุณภาพจากโรงงานที่ได้มาตรฐาน ผ่าน QC. ทุกขั้นตอน เราพร้อมให้บริการรับเหมาก่อสร้างโรงงาน รับก่อสร้างอาคาร รับก่อสร้างอาคารพาณิชย์ โดยผู้เชี่ยวชาญและทีมงานมืออาชีพที่พร้อมให้บริการลูกค้าด้วยความจริงใจ
---------------------------------------------
บทความที่เกี่ยวข้อง
• สาระน่ารู้เกี่ยวกับการรับเหมาก่อสร้างโรงงาน  
• มาทำความรู้จัก บริษัท ช.มั่นคง บางบอน จำกัด 
• ข้อควรระวังงานก่อสร้างด้วยระบบพรีคาสท์คอนกรีต 

 

____________________________________________________

 

สนใจชมข้อมูลเพิ่มเติมผ่าน Marketplace

 

www.brandexdirectory.com
เว็บไซต์รวมสินค้าอุตสาหกรรมอันดับต้นๆ ของประเทศไทย

 

www.pagesthai.com
เว็บไซต์รวมรายชื่อโรงงานผลิต ซับคอนแทรค และบริการ

 

www.Brand.co.th
เว็บรวมสินค้าแบรนด์และผู้ผลิตสินค้าแบรนด์

 

www.eeczone.com
เว็บรวมรายชื่อผู้ประกอบการภาคตะวันออก

1 2 3 4 5 6 7 8 9 10 11 12 13 14 15